วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หน้าที่ของ Power suppy




เพาเวอร์ซัพพลาย Power Supply
อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)นั่นเอง
เพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซีี ให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้
แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลังถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อนเพาเวอร์ซัพพลาย Power Supplyอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)นั่นเองพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซีี ให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลังถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อนเพาเวอร์ซัพพลายจะใช้เทคโนโลยีที่เราเรียกว่า สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายคือการเปลี่ยนแรงดันอินพุตกระแสสลับเอซี ให้เป็นแรงดันตํ่ากระแสตรงแรงดันที่ออกแบบให้ออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายมีอยู่ทั่วไป 3ระดับคือ3.3โวลท์ , 5โวลท์ และ 12โวลท์ โดยที่แรงดัน3.3โวลท์และแรงดัน5โวลท์จะนำไปใช้ในวงจรดิจิตอล ส่วนแรงดัน12โวลท์ถูกนำไปใช้ในการหมุนมอเตอร์ของดิสท์ไดรฟ์และพัดลมระบายความร้อน




เมื่อหลายปีก่อนบางท่านที่เคยใช้คอมพิวเตอร์ยุคแรกๆตั้งแต่รุ่น 8088จนถึงรุ่น 486 คงจะจำได้ว่าสวิตช์เปิดปิดของคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าพวกนี้จะแตกต่างจากสวิตช์ปิดเปิดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่า คอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆนั้น จะใช้เพาเวอร์ซัพพลายแบบ AT ซึ่งมีสวิตช ์เพื่อควบคุมการปิดเปิดเพาเวอร์ซัพพลายโดยตรง และใช้สวิตช์กดติดค้างคล้ายๆกับสวิตช์เปิดปิดไฟบ้าน ซึ่งต่างจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจะใช้สวิตช์แบบกดติดปล่อยดับ สวิตช์นี้จะไม่ต่อเข้ากับเพาเวอร์ซัพพลายโดยตรงแต่จะต่อกับแผงวงจรเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ โดยใช้การควบคุมการปิดเปิดจากโปรแกรมปฎิบัติงาน สั่งให้แผงเมนบอร์ดปิดเพาเวอร์ซํพพลาย เมื่อเรากดสวิตช์นี้ เมนบอร์ดจะส่งแรงดัน 5โวลท์ไปยังส่วนควบคุมในเพาเวอร์ํซัพพลายเพื่อเปิดปิดการทำงานของตัวมันแรงดันไฟตรงนี้เราเรียกว่าแรงดัน VSB เพาเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่นี้เราเรียกแบบว่า แบบ ATX


ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีสวิตชิ่งในเพาเวอร์ซัพพลายจะเห็นได้ว่ามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี คศ.1980 ในตอนนั้นเพาเวอร์ซัพพลายมีขนาดใหญ่และนํ้าหนักมากที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าในตัวเพาเวอร์ซํพพลายต้องใช้หม้อแปลงและตัวเก็บประจุที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาลดขนาดและนํ้าหนักของเพาเวอร์ซัพพลายลงได้มาก
เทคโนโลยีสวิตชิ่งไม่ใช่แค่นำไปใช้แต่คอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่ยังได้นำไปใช้ในการสร้างไฟกระแสสลับจากไฟตรง12โวลท์ของแบตเตอรี่รถยนต์เพื่อไปจ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นทีวี วิดีโอ ดังจะเห็นได้จากรถตู้หรือรถทัวร์เค้าใช้กัน วงจรพวกนี้เราเรียกว่า อินเวอร์เตอร์ เพาเวอร์ซํพพลายที่มีขายตามท้องตลาดนั้นมีหลายราคา หลายกำลังวัตต์ให้เลือก ตั้งแต่200วัตต์ จนถึง 400วัตต์ขึ้นอยู่กับว่าคอมพิวเตอร์เราใช้ทรัพยากรหรือว่ามีอุปกรณ์ต่อมากน้อยเพียงใด
อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ กำลังวัตต์ที่อุปกรณ์ใช้ หน่วยประมวลผล CPU 15 - 45 วัตต์ Mainboard 20 - 30 วัตต์ Hard disk 5 - 15 วัตต์ CD-ROM drive 10 - 25 วัตต์ หน่วยความจำ RAM 5 - 11 วัตต์ Floppy disk drive 5 วัตต์ การ์แสดงผล AGP 20 - 30 วัตต์ การ์ด PCI เช่นการ์ดเสียง 5 วัตต์ การ์ด SCSI 20 - 25 วัตต์ การ์ด LAN 4 วัตต์ พัดลมระบายความร้อน 2 - 4 วัตต์
จะเห็นได้ว่ากำลังไฟทั้งหมดถ้ารวมๆกันแล้วก็ไม่เกิน 250วัตต์ จึงพอเพียงสำหรับเพาเวอร์ซํพพลายที่มีขายในปัจจุบัน
ปัญหาที่เราพบบ่อยๆกับเจ้าตัวเพาเวอร์ซํพพลายก็คือความร้อนที่เกิดจากตัวมันเองโดยทั่วไปเพาเวอร์ซัพพลายจะมีพัดลมช่วยระบายความร้อน แต่ถ้าพัดลมนั้นเกิดเสื่อมสภาพ หมุนช้าลงหรือหยุดหมุนไป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเพาเวอร์ซัพพลายก็จะร้อนขึ้นจนอาจจะไหม้ได้ หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะหยุดทำงานพร้อมกับมีกลิ่นไหม้ตามมา ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรสำรวจพัดลมหรือฟังเสียงพัดลมของเพาเวอร์ซัพพลาย ถ้าพัดลมหมุนช้าหรือหยุดหมุนไปก็ให้ปิดเครื่องทันที ถ้ามีฝีมือหน่อยก็ถอดฝาออกมาแล้วก็ซื้อพัดลมขนาดเดียวกันมาเปลี่ยนแทน หรือถ้าไม่อยากยุ่งยากก็ซื้อใหม่ทั้งชุดเลย ปัจจุบันราคาของเพาเวอร์ซัพพลายไม่แพงมากนัก อยู่ระหว่างประมาณ 350 ถึง 500บาทขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ที่ใช้และรูปแบบของเพาเวอร์ซัพพลาย เวลาเปลี่ยนก็ควรปลดสายไฟออกทั้งหมดก่อนเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมาด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเมนบอร์ดจึงได้สร้างเมนบอร์ที่สามารถอ่านค่าความเร็วของพัดลมทุกตัวในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งพัดลมของเพาเวอร์ซํพพลายด้วย โดยเมื่อพัดลมหมุนช้าลง หน่วยควบคุมในเมนบอร์ดก็จะส่งสัญญาณผ่านโปรแกรมมอนิเตอร์เตือนผู้ใช้ที่หน้าจอ ก่อนที่จะดับเครื่องตัวเองเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น