วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หน้าที่ของmainbord





1.หน้าที่ของเมนบอร์ด
แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคมศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลักและถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์เราจะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วนของเมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้างเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลากหลายแตกต่างไปตาม แต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี เพราะ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX, Micro ATX, AT ทำให้ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ การวางส่วนประกอบต่างๆ การทำงานต่างของเมนบอร์ดแตกต่างกันออกไป
2.ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆให้ทำงานได้ตามต้องการ
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียูโดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูลซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
4.สล็อต
ขีดความสามารถของเมนบอร์ดขึ้นอยู่กับการมีสล็อต และลักษณะชนิดของสล็อต เพราะหากมีสล็อตหลายสล็อตก็หมายถึงการขยายหรือเพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นได้ แต่หากมีจำนวนสล็อตมาก ก็หมายถึงราคาของเมนบอร์ดก็สูงขึ้น ชนิดของสล็อตที่มีกับเมนบอร์ดประกอบด้วย
4.1.PCI เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับเพิ่มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น เพิ่มการ์ดเชื่อมต่อแลน การ์ดวิดีโอ การ์ดเสียง จำนวนสล็อต PCI มี แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะมีให้ตั้งแต่ 2 ถึง 6 สล็อต
4.2.DIMM เป็นช่องใส่หน่วยความจำ ซึ่งปกติใช้ได้กับ DDRAM แต่ในบางเมนบอร์ดจะมีสล็อตที่เป็น SDRAM โดยเฉพาะนั่น หมายถึง นำ DDRAM มาใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเป็น DIMM สล็อตจะใช้ได้ทั้ง SDRAM และ DDRAM โดยปกติจะมีช่องใส่หน่วยความจำ แบบนี้อยู่ 2 ถึง 4 ช่อง เพราะหน่วยความจำที่ใช้มีความจุต่อการ์ดสูงขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ช่องมากเหมือนเมื่อก่อน
4.3.AGP ย่อมาจาก Accerelator Graphic Port เป็นสล็อตสำหรับใส่การ์ดจอภาพแสดงผล ซึ่งเน้นในเรื่องความเร็วของการแสดงผลกราฟิกส์ ปัจจุบันมีผู้ผลิตการ์ดแสดงผลที่ต้องการแสดงผลได้เร็ว โดยเฉพาะพวกเกม 3D เทคโนโลยี AGP จึงต้องทำให้การถ่ายโอนข้อมูลแสดงผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ความเร็วสูงขึ้น โดยวัดความเร็วเป็นจำนวนเท่าของมาตรฐานปกติ เช่น 4x คือ สี่เท่า
4.4.Ultra DMA/100 DMA ย่อมาจาก Direct Memory Access เป็นช่องทางของการถ่ายโอนหน่วยความจำกับอุปกรณ์อินพุตเอาท์พุตที่มีการโอนย้ายข้อมูลเป็นบล็อก และต้องการความรวดเร็ว พอร์ตที่ใช้ DMA แบบนี้คือ ฮาร์ดดิสค์ ฟลอปปี้ดิสค์ ซีดีและดีวีดี เป็นต้น ช่องทางนี้จึงเป็นช่องทางเชื่อมกับฮาร์ดดิสค์หรือซีดีรอม ถ้ามี Ultra DMA สองช่องก็หมายถึงมีสายเชื่อมไปยังฮาร์ดดิสค์ที่จะต่อเข้า เมนบอร์ดได้สองเส้น แต่ละเส้นต่อได้สองไดร์ฟ นั่นหมายถึงใส่ฮาร์ดดิสค์ได้สี่ไดร์ฟ
5.พอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ บนเมนบอร์ดจะมีการสร้างพอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ เช่น USB พอร์ต ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1 พอร์ต อาจจะเป็น 2 ถึง 4 พอร์ต พอร์ตขนานต่อเครื่องพิมพ์ พอร์ตอนุกรม (ปกติมีให้ 1-2 พอร์ต) พอร์ต PS/2 เมาส์ พอร์ต PS/2 คีย์บอร์ด พอร์ตมาตรฐานเหล่านี้กำลังเพิ่มพอร์ตพิเศษบางชนิดเข้าไปด้วย เช่น พอร์ต Fly wire พอร์ตเชื่อมต่อวิดีโอ ความเร็วสูง IEEE1394 พอร์ต SVideo
3.วิธีการเลือกซื้อเมนบอร์ด
mainboard การเลือกซื้อเมนบอร์ดนั้น มีสิ่งที่จะต้องพิจารณาดังนี้
1. Interface ต้องเลือกให้ตรงกับ CPU ที่เราจะซื้อ ได้แก่ Socket 7 [ k6-2 ] Slot1[ pIII ] , Socket 370 [ CelelonII ] ,Slot A [Athlon] Socket A [Duron]2. Chipset ดูว่าสนับสนุน Hardware อื่นๆที่เราเลือกไว้หรือไม่ เช่น ฮาร์ดดิสก์ UDMA/100 แรม PC-133 หรือ AGP 4x เป็นต้น3. จำนวน Slot สำหรับติดตั้ง Hardware อื่นๆ ควรเลือกให้เพียงพอต่อการใช้งาน4. ไม่ควรใช้ VGA Card และ Soundcard ชนิด onboard
นอกจากจะมีงบประมาณจำกัดจริงๆเนื่องจากมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่ค่อยดีนัก และจะทำให้เครื่องทำงานช้าลงเนื่องจากต้องดึงหน่วยความจำของเครื่องมาใช้ ความรู้เรื่อง Mainboard เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมด ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมายแต่ส่วนสำคัญๆ ประกอบด้วย
1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่ง เนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์แปลภาษาให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ โดยชิพเซ็ตนั้นจะประกอบด้วยชิพเซ็ตนั้น จะประกอบไปด้วยชิพ 2 ตัว คือชิพ System Controller และชิพ PCI to ISA Bridge
ชิพ System Controller หรือ AGPSET หรือ North Bridge เป็นชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์หลักๆ ความเร็วสูง ชนิดต่างๆ บนเมนบอร์ดที่ประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำแคชระดับสอง (SRAM) หน่วยความจำหลัก (DRAM) ระบบกราฟิกบัสแบบ AGP และระบบบัสแบบ PCI ชิพ PCI to ISA Bridge หรือ South Bridge จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างระบบบัสแบบ PCI กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความเร็วในการทำงานต่ำกว่าเช่นระบบบัสแบบ ISA ระบบบัสอนุกรมแบบ USB ชิพคอนโทรลเลอร์ IDE ชิพหน่วยความจำ รอมไบออส ฟล็อบปี้ดิกส์ คีย์บอร์ด พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน ชุดชิพเซ็ตจะมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่นหลายยี่ห้อโดยลักษณะการใช้งานจะขึ้นอยู่กับซีพียูที่ใชเป็นหลัก เช่นชุด ชิพเซ็ตตระกูล 430 ของอินเทล เช่นชิพเซ็ต 430FX, 430HX 430VX และ 430TX จะใช้งานร่วมกับซีพียู ตระกูลเพนเทียม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6×86L, 6×86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต ตระกูล 440 ของอิเทลเช่นชิพเซ็ต 440FX, 440LX, 440EX และชิพเซ็ต 440BX จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมโปร เพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน และชุดชิพเซ็ตตระกูล 450 ของอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต 450GX และ 450NX ก็จะใช้งานร่วมกับ ซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทูซีนอนสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับ Server หรือ Workstation นอกจากนี้ยังมีชิพเซ็ตจากบริษัทอื่นๆ อีกหลายรุ่นหลาย ยี่ห้อที่ถูกผลิตออกมา แข่งกับอินเทลเช่นชุดชิพเซ็ต Apollo VP2, Apollo VP3 และ Apollo mVp3 ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin IV+ และ Aladin V ของ ALi และชุดชิพเซ็ต 5597/98, 5581/82 และ 5591/92 ของ SiS สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยม เพนเที่ยม MMX, K5, K6, 6×86L, 6×86MX (M II) และ IDT Winchip C6 ชุดชิพเซ็ต Apollo BX และ Apollo Pro ของ VIA, ชุดชิพเซ็ต Aladin Pro II M1621 M1543C ของ ALi และชุดชิพเซ้ต 5601 ของ Sis สำหรับซีพียูตระกูลเพนเที่ยมทู และเซลเลอรอน ซึ่งชิพเซ้ตแต่ละรุ่นแต่ละยี้ห้อนั้นจะมีจุดดีจุดด้อย แตกต่างกันไป
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS (Basic Input Output System) หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ โดยในอดีตส่วนของชิพรอมไบออสจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชิพไบออส และชิพซีมอส ซึ่งชิพซีไปออสจะทำหน้าที่ เก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนชิพซีมอสจะทำหน้าที่ เก็บโปรแกรมขนาดเล็ก ที่ใช้ในการบูต ระบบ และสามารถเปลี่ยนข้อมูลบางส่วนภายในชิพได้ ชิพไบออสใช้พื้นฐานเทคโนโลยีของรอม ส่วนชิพซีมอสจะใช้เทคโนโลยีของแรม
ดังนั้นชิพไบออสจึงไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า ในการเก็บรักษาข้อมูล แต่ชิพซีมอส จะต้องการพลังงานไฟฟ้าในการเก็บรักษาข้อมูลอยู่ตลอด เวลาซึ่งพลังงานไฟฟ้า ก็จะมาจากแบตเตอรี่แบ็คอัพที่อยู่บนเมนบอร์ด (แบตเตอรี่แบ็คอัพจะมีลักษณะเป็นกระป๋องสีฟ้า หรือเป็นลักษณะกลมแบนสีเงิน ซึ่งภายในจะบรรจุแบตเตอรรี่แบบลิเธี่ยมขนาด 3 โวลต์ไว้) แต่ตอ่มาในสมัย ซีพียตระกูล 80386 จึงได้มีการรวมชิพทั้งสองเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อว่า ชิพรอมไบออสเพียงอย่างเดียว และการที่ชิพรอมไบออสเป็นการรวมกันของชิพไบออส และชิพซีมอสจึงทำให้ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ภายใน ชิพรอมไบออส ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูลไว้ แบตเตอรี่แบ็คอัพ จึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นอยู่จนถึง ปัจจุบัน
จึงเห็นได้ว่าเมื่อแบตเตอรี่แบ็คอัพเสื่อม หรือหมดอายุแล้วจะทำให้ข้อมูลที่คุณเซ็ตไว้ เช่น วันที่จะหายไปกลายเป็นค่าพื้นฐานจากโรงงาน และก็ต้องทำการเซ้ตใหม่ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง เทคโนโลยีรอมไบออส ในอดีตหน่วยความจำรอมชนิดนี้จะเป็นแบบ EPROM (Electrical Programmable Read Only Memory) ซึ่งเป็นชิพหน่วยความจำรอม ที่สามารถบันทึกได้ โดยใช้แรงดันกระแสไฟฟ้าระดับพิเศษ ด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า Burst Rom และสามาถลบข้อมูลได้ด้วยแสงอุตราไวโอเล็ต ซึ่งคุณไม่สามารถอัพเกรดข้อมูลลงในไบออสได้ด้วยตัวเอง จึงไม่ค่อยสะดวกต่อการแก้ไขหรืออัพเกรดข้อมูลที่อยู่ในชิพรอมไบออส แต่ต่อมาได้มีการพัฒนา เทคโนโลยชิพรอมขึ้นมาใหม่ ให้เป็นแบบ EEPROM หรือ E2PROM โดยคุณจะสามารถทั้งเขียน และลบข้อมูล ได้ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษ ได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย ดังเช่นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์ ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น